การต่อ พรบ. รถยนต์ ออนไลน์ ทุกวันนี้เราสามารถทำมันง่าย ๆ ด้วยการเข้าไปที่เว็บไซต์ของกรมการขนส่งทางบกได้แล้วนะครับโดยแน่นอนว่าเราต้องต่อมันทุกปี พรบ. เป็นกฏหมายที่บังคับให้รถทุกคนบนถนนต้องมีเพื่อคุ้มครองความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นกับผู้อื่นเวลาที่เราใช้รถใช้ถนนนั่นเองครับ
พรบ. รถยนต์ คืออะไร
พรบ. ย่อมาจาก พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ซึ่งกฎหมายบังคับใช้กับรถทุกชนิด ที่จดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบกต้องทำ พรบ รถยนต์ เพื่อเป็นหลักประกัน หากเกิดกรณีฉุกเฉิน เช่นเวลา รถชน พรบ จะสามารถจ่ายค่าชดเชยด้านต่าง ๆ ให้กับผู้ขับขี่ได้ รวมไปถึงบุคคลที่ 3 ที่เกี่ยวข้องที่รับผลกระทบตั้งแต่ บาดเจ็บทั่วไป สูญเสียอวัยวะ ไปจนถึงเสียชีวิตครับ
พรบ. รถยนต์ ขาด ปรับเท่าไหร่
พรบ. รถยนต์ ไม่ต่อไม่ได้นะครับ มีความผิดทางกฏหมาย โดยมันจะมีผลเสียดังต่อไปนี้ครับ
- พรบ ขาด มีโทษปรับสูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท
- กรณีที่รถเกิดอุบัติเหตุขึ้นมา เจ้าของรถผู้ขับขี่ต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเองทุกอย่าง ไม่ว่าจะความเสียหายของรถคู่กรณี รวมถึงตัวผู้กรณีด้วย
- ไม่สามารถต่อทะเบียนรถยนต์ หรือต่อภาษีรถยนต์ได้
พรบ. รถยนต์ กับความคุ้มครอง
จริง ๆ ต้องบอกว่า พรบ. รถยนต์ มันถูกเรียกอีกแบบว่าเป็นประภัยกันภาคบังคับ อาจจะไม่ได้คุ้มครองไปถึงทรัพย์สิน หรือ รถยนต์ แต่ก็ดีพอที่จะคุ้มครองผู้บาดเจ็บหรือเสียชีวิตครับ
- ผู้บาดเจ็บ จ่ายตามค่ารักษาจริงสูงสุดไม่เกิน 30,000 บาท
- ผู้เสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพถาวร จะได้รับค่าเสียหายเบื้องต้น 35,000 บาท
- ผู้เสียชีวิตหลังจากรักษาพยาบาล จะได้รับค่ารักษาพยาบาลตามที่จ่ายจริงไม่เกิน 30,000 บาท และค่าปลงศพอีกจำนวน 35,000 บาท รวมแล้วไม่เกิน 65,000 บาท
พรบ. รถยนต์ ราคา
ราคา พรบ. รถยนต์นั้นขึ้นอยู่กับประเภทรถและขนาดเครื่องยนต์ครับ โดยราคาจะเป็นไปตามด้านล่างนี้ครับ
ประเภทรถโดยสาร
- ราคา พรบ รถยนต์โดยสาร ที่นั่งไม่เกิน 7 คน (รถเก๋ง) : 600 บาท
- ราคา พรบ รถ EV โดยสาร ที่นั่งไม่เกิน 7 คน (รถเก๋ง) : 600 บาท
- ราคา พรบ รถยนต์โดยสาร ไม่เกิน 15 ที่นั่ง (รถตู้) : 1,100 บาท
- ราคา พรบ รถยนต์โดยสาร เกิน 15 ที่นั่ง ไม่เกิน 15 ที่นั่ง : 2,050 บาท
- ราคา พรบ รถยนต์โดยสาร เกิน 20 ที่นั่ง ไม่เกิน 40 ที่นั่ง : 3,200 บาท
- ราคา พรบ รถยนต์โดยสาร เกิน 40 ที่นั่ง : 3,740 บาท
ต่อ พรบ. รถยนต์ ออนไลน์
- เข้าเว็บไซต์กรมการขนส่งทางบก https://eservice.dlt.go.th/esvapp/login.jsf# จากนั้นให้ลงทะเบียนและเข้าสู่ระบบ
- ยื่นชำระภาษีรถยนต์ประจำปี ที่เมนู “ยื่นชำระภาษีรถยนต์ประจำปี”
- กรอกรายละเอียดเกี่ยวกับรถ เพื่อลงทะเบียนรถ แล้วยื่นชำระภาษี
- ระบบจะทำการตรวจสอบประกันภัยภาคบังคับ (พ.ร.บ.) ของรถ โดยเชื่อมต่อและตรวจสอบกับระบบ คอมพิวเตอร์ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) รวมทั้ง ตรวจสอบผลการตรวจสภาพรถจากสถานตรวจสภาพรถ (ตรอ.) สำหรับรถที่ต้องตรวจสภาพก่อนชำระค่าภาษี ประจำปีตามที่กรมฯ กำหนด หากตรวจสอบแล้วไม่พบ พ.ร.บ. และ/หรือไม่พบผลการตรวจสภาพรถ จะไม่ สามารถดำเนินการในขั้นตอนต่อไป
- ต้องเลือกติ๊กช่องซื้อ พรบ ออนไลน์ ก่อนดำเนินการต่อ
- หรือเราสามารถที่จะเลือกบริษัทประภัย ที่ต้องการต่อ พรบ ออนไลน์ได้เลย โดยทาง Daddy-Gadget รวมลิ้งค์ไว้ให้แล้วครับ